วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

พริกขี้หนู








ชื่อสามัญ : Bird Chilli
ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum frutescens Linn.
วงศ์ SOLANACEAE
ชื่ออื่น ๆ : พริกแด้, พริกแต้, พริกนก, พริกแจว, พริกน้ำเมี่ยง (เหนือ-พายัพ), พริก, พริกชี้ฟ้า,พริกขี้หนู (ภาคกลาง-เหนือ), ดีปลี (ใต้-ปัตตานี), ดีปลีขี้นก, พริกขี้นก, ใต้ (ภาคใต้), ลัวะเจีย (แต้จิ๋ว), มะระตี้ (สุรินทร์), ล่าเจียว (จีนกลาง), หมักเพ็ด (อีสาน)

ลักษณะทั่วไป :
ต้น :   เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม.
ใบ :    เป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม
ดอก : จะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน
 จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง
ผล :   ผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆแกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ด

การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณใช้ปรุงรสอาหาร ช่วยเจริญอาหาร และรักษาอาการอาเจียน รักษาโรคหิด กลาก รักษาโรคบิด โดยการใช้พริกสด 1 เม็ด หรือมากกว่านั้นใช้กิน และอาการปวดบวมเนื่องจากความเย็นจัด โดยใช้ผงพริกแห้งทำเป็นขี้ผึ้ง หรือสารละลายแอลกอฮอล์ใช้ทา 
อื่น ๆ พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้สวนครัวที่ขาดกันไม่ได้ เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นง่าย แต่บำรุงรักษายาก เพราะใบอ่อนของพริกอร่อยทำให้แมลงต่าง ๆ ชอบกิน ผลแรกผลิใช้ผสมกับผักแกงเลียงช่วยชูรส ส่วนผลกลางแก่ใช้ใส่แกงคั่วส้ม จะได้อาหารที่มีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ เพราะมีวิตามีซี และไส้พริกจะมีสารแคบไซซิน ที่ให้ความเผ็ดและมีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อนป็นเครื่องปรุงอาหารช่วยชูรส ใส่น้ำพริก ยำ ทำเป็นน้ำปลาดองและยังเป็นยาช่วยกระตุ้นทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ หรือใช้ภายนอกเป็นยาทาถูนวดลดอาการไขข้ออักเสบ





วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

กระชาย







กระชาย เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะเรียว ยาวอวบน้ำ ตรงกลางเหง้าจะพองคล้ายกระสวยออกเกาะกลุ่มกันเป็นกระจุก มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแกมส้ม เนื้อข้างในเป็นสีเหลืองมีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน สีค่อนข้างแดง ใบมีขนาดยาวรีรูปไข่ ปลายใบแหลมมีขนาดใหญ่สีเขียวอ่อน โคนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ออกดอกเป็นช่อที่ยอด ดอกมีสีขาวหรือสีขาวปนชมพู ผลของกระชายเป็นผลแห้ง

ชื่อสามัญKaempferชื่อวิทยาศาสตร์Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. วงศ์Zingiberaceae 
ชื่ออื่นกระชายดำ กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม) จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ระแอน (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ละแอน (ภาคเหนือ)  ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) 



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
  ไม้ล้มลุก มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ รากอวบ รูปทรงกระบอกหรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-10 ซม. ออกเป็นกระจุก ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะตัว ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นใบ มี 2-7 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี กว้าง 5-12 ซม. ยาว 12-50 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบ เส้นกลางใบ ก้านใบ และกาบใบด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างนูนเป็นสัน ก้านใบเรียบ ยาว 7-25 ซม. กาบใบสีชมพู ยาว 7-25 ซม. ระหว่างก้านใบและกาบใบมีลิ้นใบ ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด ยาวประมาณ 5 ซม. แต่ละดอกมีใบประดับ 2 ใบ สีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน รูปใบหอก กว้างประมาณ 8 มม. ยาว 3.5-4.5 ซม. กลีบเลี้ยงสีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.7 ซม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 6 ซม. ปลายแยกเป็น 3 กลีบ รูปใบหอก ขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่ 1 กลีบ กว้างประมาณ 7 มม. ยาวประมาณ 1.8 ซม. อีก 2 กลีบ ขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 5 มม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน แต่ 5 อัน เปลี่ยนไปมีลักษณะเหมือนกลีบดอก โดย 2 กลีบบนสีชมพู รูปไข่กลับ ขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 1.2 ซม. ยาวประมาณ 1.7 ซม. อีก 3 กลีบล่างสีชมพูติดกันเป็นกระพุ้ง กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 2.7 ซม. ปลายแผ่กว้างประมาณ 2.5 ซม. มีสีชมพูหรือม่วงแดงเป็นเส้นๆ อยู่เกือบทั้งกลีบโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกระเปาะและปลายกลีบ มีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 1 อัน ก้านชูอับเรณูหุ้มก้านเกสรเพศเมีย ผล แก่แตกเป็น 3 เสี่ยง เมล็ด ค่อนข้างใหญ่
ถิ่นกำเนิดอินเดีย - มาเลเซีย

สารสำคัญที่พบรากและเหง้าของกระชายมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งประกอบไปด้วยสารไพนีน (Pinene) แคมฟีน (Camphene) เมอร์ซีน (Myrcene)ไลโมนีน (Limonene) บอร์นีออล (Borneol) และการบูร (Camphor) เป็นต้น 

สรรพคุณกระชายมีรสเผ็ดร้อน สารสำคัญในรากและเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยขับลมแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก และเป็นยาอายุวัฒนะ
 เหง้าใต้ดิน - มีรสเผ็ดร้อนขม แก้ปวดท้อง มวนในท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร
 เหง้าและราก - แก้บิดมูกเลือด เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ใช้เป็นยาภายนอกรักษาขี้กลาก
 ใบ - บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆ



วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

คะน้า






ชื่อวิทยาศาสตร์Brassica alboglabra
วงศ์Craciterae
ชื่อสามัญKALE



ลักษณะ :
  ผักคะน้าเป็นผักอายุ 2 ปี แต่ปลูกเป็นผักฤดูเดียว อายุตั้งแต่หว่านจนถึงเก็บเกี่ยว ประมาณ 45-55 วัน ผักคะน้าสามารถปลูก ได้ตลอดปี แต่เวลาที่ปลูกได้ผลดีที่สุดอยู่ ในช่วงเดือนตุลาคม-เมษายน คะน้าสามารถขึ้นได้ในดิน แทบทุกชนิดที่มี ความอุดมสมบูรณ์สูง มีความเป็นกรดด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.8 และมีความชื้นในดินสูงสม่ำเสมอ


ประโยชน์ :
  คะน้ามีวิตามินหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน 186.92 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และยังมีวิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคของเรามีความแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบแคลเซี่ยมช่วยเสริมสร้างกระดูก แต่หากบริโภคมากเกินไปจะทำให้ท้องอืด เนื่องจากมีกอยโตรเจน (goitrogen)ในคะน้า




สรรพคุณ :
  ผักคะน้ายังมีวิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคมีความแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีแคลเซี่ยมช่วยเสริมสร้างกระดูกช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่กระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

กระเทียม









ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativum Linn.
วงศ์Alliaceae
ชื่อท้องถิ่นกระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้)



ลักษณะ :
  พืชล้มลุก สูง 40-80 ซม. มีหัวใต้ดิน (bulb) ซึ่งแบ่งเป็นกลีบเล็กๆ ได้หลายกลีบ แต่ละกลีบมีกาบใบแห้งๆ หุ้มไว้ในลักษณะแคบยาว กว้าง 1 - 2.5 ซม. ยาว 30 - 60 ซม. ปลายแหลม ดอกช่อ แทงจากลำต้นใต้ดิน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 6 อัน สีชมพู ผลแห้ง แตกได้สามารถปลูกได้ทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ากระเทียม กลีบเล็กพันธุ์จาก จังหวัดศีรษะเกษ มีสารสำคัญมากที่สุด



ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :
  สารเคมีในหัวกระเทียม คือน้ำมันหอมระเหย Essential oil โดยทั่วไปกระเทียมจะมีน้ำมันหอมระเหยประมาณร้อยละ 0.6-1 ในน้ำมันหอมระเหย นี้มีสารเคมีที่มีกำมะถันเป็นองค์หระกอบหลายชนิด ตัวที่สำคัญก็คือ "อัลลิซิน" นอกจากนี้ยังมี Sulfane dimethy dipropl-disulfide sllinase "อัลลิซิน" เป็นน้ำมันไม่มีสี ละลายได้ในน้ำ ในแอลกอฮอล์ เบนซิน และอีเทอร์ ถ้ากลั่นโดยใช้การร้อนโดยตรง จะถูกทำลาย"อัลลิซิน"ได้รับความสนใจและแยกสกัดบากกว่า มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโต ของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราหลายชนิดด้วยกัน หัวกระเทียมสามารถลดปริมาณไขมันในเส้นเลือด ได้ทั้งคนปกติและคนไข้ที่มีโฆเลสเตอรอลสูง



รสและสรรพคุณทางยา :
  รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้กลากเกลื้อน แก้ไอ ขับเสมหะช่วยย่อยอาหาร ปวดฟัน ปวดหู โรคผิวหนัง
ในตำรายาไทยให้ใช้กระเทียมและขิงสดย่างละเท่ากัน ตำละเอียด ละลายกับน้ำอ้อยสด คั้นน้ำจิบแก้ไอกัดเสมหะ และทำให้เสมหะแห้ง โดยสารที่ออกฤทธิ์ เป็นยาแก้ไอ คือ allicin ซึ่งละลายน้ำได้ และถูกทำลายด้วยความร้อน
กระเทียมรักษากลากเกลื้อน ซึ่งเป็นผลจาก allicin มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราได้หลายชนิด ทำได้โดยการฝานกลีบกระเทียม แล้วนำมาถูบ่อยๆ หรือตำคั้นเอาน้ำบริเวณที่เป็น โดยใช้ไม้เล็กๆ หรือไม้ไผ่ที่สะอาดขูดบริเวณที่เป็น พอให้ผิวแดงอ่อนๆ ก่อน แล้วจึงเอาน้ำกระทียมขยี้ทา ทาบ่อยๆ วันละ 3-4 ครั้ง เมื่อหายแล้ว ทาต่ออีก 7 วัน


วิธีใช้ :
  ใช้กระเทียมสด 5-7 กลีบ รับประทานหลังอาหาร หรือเมื่อมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ซึ่งเป็นผลจากสารสำคัญต่างๆ ในน้ำมันหอมระเหย allicin และ diallyl disulfide ช่วยต้าน การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยมีกลไกการออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับการสร้างสาร prostaglandin ตามธรรมชาติ allicin มีในหัวกระเทียมน้อยมาก ส่วนใหญ่อยู่ในรูป alliin เมื่อหั่นกระเทียม อากาศจะทำให้ เอนไซม์ alliinase ย่อย alliin ให้เป็น allicin ซึ่งเป็นสารที่ไม่คงตัว สลายตัวได้ง่าย โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เมื่อถูกความร้อน ดังนั้น กระเทียมเจียว กระเทียมดอง จะไม่ไห้ผลเป็นยา


วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ผักกวางตุ้ง











ชื่อวิทยาศาสตร์Brassica chinensis Jusl var parachinensis (Bailey) Tsen & Lee
วงศ์Cruciferae
ชื่อสามัญ Chinese Cabbage-PAI TSAI 


ลักษณะ
  เป็นผักที่นิยมบริโภคกันมาก ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว อายุการเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 35-45 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง นำมาประกอบอาหารประเภทผัด แกงจืด ผักจิ้ม เป็นต้นอสามารถปลูกได้ทุกฤดูและนิยมปลูกกันทั่วประเทศทั้งในรูปของสวนผักการค้า
- ราก  เป็นระบบรากแก้ว อยู่ในระดับตื้น ส่วนที่ใหญ่สุดของรากแก้ว ประมาณ 1.20 เซนติเมตร มีรากแขนงแตกออกจากรากแก้วมาก โดยรากแขนงแผ่อยู่ตามบริเวณผิวดิน รากแก้วอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น ถ้าดินมีสภาพชื้นและเย็น
- ลำต้น  ตั้งตรง มีสีเขียว ขนาดโตเต็มที่ใช้รับประทานได้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.4-1.8 เซนติเมตร สูงประมาณ 43-54 เซนติเมตร ก่อนออกดอกลำต้นจะสั้น มีข้อถี่มากจนดูเป็นกระจุกที่โคนต้น เมื่อออกดอกแล้วในระยะติดฝักต้นจะสูงขึ้นมาก โดยเฉลี่ยสูงประมาณ 85-144 เซนติเมตร
- ใบ  ใบเลี้ยงมี ใบ มีสีเขียว ปลายใบตรงกลางจะเว้าเข้า ส่วนใบจริงจะแตกเป็นกระจุกที่บริเวณโคนต้น เป็นใบเดี่ยว ใบเรียบไม่ห่อหัว สีเขียว ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ขอบใบเป็นรอยฟันเลื่อยเล็กมาก ใบแก่ผิวใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ไม่มีขน ของใบเรียบหรืออาจมีรอยเว้าตื้นๆ ขนาดเล็กโคนใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบมน ก้านใบที่ติดกับลำต้นมีสีเขียวอ่อนเป็นร่องและเรียวกลมขึ้นไปหาแผ่นใบ ก้านใบหนาและมีสีขาวอมเขียว สำหรับใบที่ช่อดอกจะมีก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร รูปใบเรียวแหลมไปทางฐานใบและปลายใบ ขอบใบเรียบ
- ช่อดอกและดอก  ผักกาดเขียวกวางตุ้งจะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 55-75 วัน ช่อดอกยาว 50-90 เซนติเมตร ดอกตูมรวมกลุ่มอยู่บนยอดดอกช่อดอก ดอกบานจากด้านล่างไปหาด้านบน ดอกที่บานแล้วมีก้านดอกยาวกว่าดอกที่ตูม ดอกเป็นแบบสมบูรณ์เพศ ขนาดดอก 1-1.5 เซนติเมตร กลีบชั้นนอกสีเขียวอ่อน อัน ขนาดเล็กกลีบกว้าง 0.1-0.2 เซนติเมตร ยาว 0.7-0.8 เซนติเมตร กลีบชั้นในสีเหลืองสด อัน แยกเป็นกลีบๆ ขนาดกลีบกว้าง 0.5-0.6 เซนติเมตรยาว 1.1-1.2 เซนติเมตรมีเกสรตัวผู้ อัน อับเกสรสีเหลืองแก่ ก้านชูเกสรสีเหลือง รังไข่ยาว 0.5-0.6 เซนติเมตร ซึ่งอยู่เหนือกลีบดอกและเกสรตัวผู้ก้านเกสรตัวเมียสีเขียว ยาว 0.2-0.25เซนติเมตร ยอดเกสรตัวเมียเป็นตุ่มสีเหลืองอ่อน ดอกบานในตอนเช้าประมาณเวลา 08.00 น.
- ผล  ผลมีลักษณะเป็นฝัก รูปร่างเรียวยาว แบ่งเป็น ส่วน คือ ส่วนปลายไม่มีเมล็ด ยาวประมาณ 0.9-1.5 เซนติเมตร และส่วนที่มีเมล็ดยาวประมาณ 3-4.1 เซนติเมตรกว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร ก้านผลยาว 1.3-2.5 เซนติเมตร ผลตั้งขึ้น เมื่อผลแก่จะแตกตามยาวจากโคนไปหาปลายผลเมื่ออ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล
- เมล็ด  ค่อนข้างกลม มีทั้งสีน้ำตาลและสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ผิวเมล็ดมีลายแบบร่างแห เห็นไม่ค่อยชัด น้ำหนัก 1,000 เมล็ดประมาณ 2.5 กรัม
 
     ผักกาดเขียวกวางตุ้งที่ปลูกมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ที่นิยมปลูกและบริโภคกันมากคือ ผักกาดเขียวกวางตุ้งใบ สำหรับพันธุ์ผักกาดเขียวกวางตุ้งใบที่ทางกรมวิชาการเกษตรส่งเสริมแนะนำคือ พันธุ์น่าน ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นผักกาดชนิดไม่ห่อปลี ส่วนกลางของก้านใบค่อนข้างหนา  ใบมีสีเขียวอ่อน ความยาวเฉลี่ย 19.5 เซนติเมตร (อายุ 40 วัน) ความหนาของก้านใบเฉลี่ย 0.9 เซนติเมตร ความกว้างเฉลี่ย 1.3 เซนติเมตร ใบสีเขียว ลักษณะยาวรี ความยาวของใบเฉลี่ย 30 เซนติเมตร กว้าง 19 เซนติเมตร ความสูงเมื่ออายุ 40 วัน เฉลี่ย 57.26 เซนติเมตร น้ำหนักต้นเฉลี่ย 550 กรัม ออกดอกเมื่ออายุ 50 วัน
        ลักษณะเด่นของพันธุ์น่าน คือ เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตเร็ว อายุสั้น เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุระหว่าง 30-40 วัน น้ำหนักเฉลี่ยต่อต้นสูง ต้นไม่แตกแขนงทำให้เสียหายน้อยในการบรรจุเพื่อการขนส่ง ไม่ออกดอกก่อนอายุ 40 วัน จึงสามารถทยอยเก็บเกี่ยวส่งตลาดได้ตั้งแต่อายุ 30-40 วัน แต่ข้อเสียของพันธุ์น่าน ก็คือ ไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง
ผักกาดเขียวกวางตุ้งสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่จะเจริญได้ดีที่สุดในสภาพดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี มีอินทรีย์วัตถุสูง ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ควรอยู่ระหว่างสภาพเป็นกรดเล็กน้อยจนถึงปานกลาง คือ pH อยู่ระหว่าง 6-6.8 ชอบดินที่มีความชื้นสูงเพียงพอสม่ำเสมอ ได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส แต่อย่างไรก็ตามในประเทศไทยสามารถปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้งได้ตลอดปี
เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่มีระบบรากตื้น ดังนั้นในการเตรียมดินควรขุดไถดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้วทำการตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายตัวแล้วให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วทำการไถพรวนให้ดินละเอียด ในกรณีที่ดินมีสภาพเป็นกรดก็ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับระดับ pH ของดินให้เหมาะสม ขนาดของแปลงปลูกกว้าง เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร หรือ ตามความเหมาะสมในการปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้งนิยมทำกัน วิธีด้วยกัน คือ
        1.  การปลูกแบบหว่านแมล็ดโดยตรง วิธีนี้นิยมใช้ในการปลูกแปลงที่ยกร่อง มีร่องน้ำกว้าง และพื้นที่ควรมีการเตรียมอย่างดี และเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ผักกาดเขียวกวางตุ้งมีขนาดเล็กมาก ดังนั้นก่อนหว่านควรผสมกับทรายเสียก่อน โดยใช้เมล็ดพันธุ์ ส่วนผสมกับทรายสะอาด ส่วน แล้วหว่านให้กระจายทั่วแปลงสม่ำเสมอแล้วหว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหนาประมาณ 1/2-1 เซนติเมตร หลังจากนั้นคลุมด้วยฟางข้าวบางๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดิน เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มหลังจากงอกได้ประมาณ 20 วัน ควรทำการถอนและจัดให้มีระยะระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร
        2.  การปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว การปลูกวิธีนี้หลังจากเตรียมดินแล้วจึงทำร่องลึกประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ให้เป็นแถวโดยให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 20-25 เซนติเมตร นำเมล็ดพันธุ์ผสมกับทราย แล้วทำการโรยหรือหยอดเมล็ดเป็นแถวตามร่อง แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบางๆ คลุมด้วยฟางข้าวบางๆ รดน้ำให้ชุ่มด้วยสม่ำเสมอ หลังจากปลูกได้ประมาณ 20 วัน หรือต้นกล้ามีใบ 4-5 ใบ จึง่ทำการถอนแยกในแถว โดยพยายามจัดระยะระหว่างต้นให้ห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร ให้เหลือหลุมละ ต้น
        การให้น้ำ  เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเกษตรกรจะต้องให้น้ำอย่างพึงพอและสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ ครั้ง โดยใช้ระบบพ่นฝอยหรือใช้สายยางติดหัวฝักบัว อย่าให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งขาดน้ำในระยะการเจริญเติบโต เพราะจะทำให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งชะงักการเจริญเติบโตได้
        การใส่ปุ๋ย เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักกินใบและก้านใบ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นการเร่งการเจริญเติบโตทางใบและก้านใบให้เร็วขึ้น หรือใช้ปุ๋ยสูตร 20-11-11 หรือสูตรใกล้เคียง ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรมีการราดน้ำตามทันที อย่าให้ปุ๋ยตกค้าง
        สำหรับการพรวนดินและกำจัดวัชพืช ควรทำให้ระยะแรกพร้อมกับการถอนแยก
        อายุการเก็บเกี่ยวของผักกาดเขียวกวางตุ้งค่อนข้างเร็ว คือ ประมาณ 35-45 วัน การเก็บเกี่ยวโดยเลือกต้นที่มีขนาดใหญ่ตามต้องการ แล้วใช้มีดคมดๆ ตัดที่โคนต้ แล้วทำการตัดแต่งใบนอกที่แก่หรือใบที่ถูกโรคหรือแมลงทำลายออก หลังจากตัดแต่งแล้วจึงบรรจุภาชนะเพื่อส่งจำหน่ายตลาดต่อไป
        สำหรับการเก็บรักษา เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักอวบน้ำ ดังนั้นการเก็บรักษาจึงควรเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำประมาณศูนย์องศาเซลเซียสที่ความชื้นสัมพัทธ์95 เปอร์เซ็นต์ จะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานถึง สัปดาห์



สรรพคุณทางยา :
  กวางตุ้งช่วยลด การเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งโรค กล้ามเนื้อเสื่อม และโรคเลือดหัวใจตีบ

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

มะแว้ง










ชื่อวิทยาศาสตร์Solanum trilobatum  L.
วงศ์Solanaceae
ชื่ออื่นแขว้งเคีย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้เถาแกมไม้พุ่ม ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามโค้งแหลม ๆ ทั่วไป แต่ไม่มีขน ใบเป็นใบเดี่ยว ติดเรียงสลับหรือเยื้องกันเล็กน้อย และมักเป็นกระจุกตามปลาย ๆ กิ่ง ใบป้อมกว้าง 1.5-5 ซม. ยาว 1.5-6 ซม. โคนใบป้านกว้าง ปลายใบมน เนื้อใบบาง เกลี้ยง สีเขียวอ่อนท้องสองด้าน ขอบใบหยักเป็นคลื่นเว้าแหว่ง ก้านใบมีหนาม ดอกสีม่วง ออกรวมกันเป็นกระจุกเป็นพวงตามง่ามใบ หรือตรงข้ามกับใบ ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 3 ซม. ช่อเกลี้ยงไม่มีขน แต่มีหนาม กลีบรองกลีบดอกมี 5 แฉกแหลมๆ เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง กลีบดอกมี 5 แฉกเช่นกัน โคนกลีบติดกันเป็นพืดด้านนอกของกลีบมีขนประปราย ส่วนด้านในเกลี้ยงเกสรผู้จะเห็นแต่อับเรณูดูเป็นหลอด รวมกันเป็นกระจุกสีเหลืองอยู่ตรงกลาง หลอดท่อรังไข่เกลี้ยง ยาวยื่นเหนืออับเรณูมาเล็กน้อย ผลกลมเกลี้ยง อุ้มน้ำ โตวัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ผลสุกสีแดง และภายในมีเมล็ดมาก2

ประโยชน์ทางสมุนไพร ตำรายาไทยใช้ผลสดแก้ไอขับเสมหะ โดยใช้ขนาด 4-10 ผล โขลกพอแหลกคั้นเอาน้ำใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมเฝื่อน มะแว้งเครือเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้งเช่นกัน นอกจากนี้ใช้ขับปัสสาวะแก้ไข้และเป็นยาขมเจริญอาหารด้วย
แก้ไอและขับเสมหะ- 1. เอาผลมะแว้งเครือสด ๆ 5-6 ผล นำมาเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมแล้วคายกากทิ้งเสีย บำบัดอาการไอได้ผลชะงัด- 2. ใช้ผลสด ๆ 5-10 ผล โขกพอแหลกคั้นเอาแต่น้ำ ใส่เกลือจิบบ่อยๆ หรือใช้ผลสดเคี้ยวแล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ2,3 ผลิตภัณฑ์
ยาอมมะแว้ง สรรพคุณ แก้ไอ ขับเสมหะ

สรรพคุณ
ราก -  แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา
ทั้งต้น - แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา
ใบ - บำรุงธาตุ แก้วัณโรค แก้ไอ
ผล - บำรุงน้ำดี รักษาโรคเบาหวาน แก้ไอ แก้เสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้คอแห้ง ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางไต และกระเพาะปัสสาวะ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา

วิธีและปริมาณที่ใช้
- ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ไอ และแก้โรคหอบหืด ใช้มะแว้งต้น ผลแก่ ในเด็ก ใช้ 2-3 ผล ใช้เป็นน้ำกระสายยา กวาดแก้ไอ ขับเสมหะ ผู้ใหญ่ ใช้ 10-20 ผล รับประทาน เคี้ยว แล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ รับประทานบ่อยๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น
- ใช้ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ใช้มะแว้งต้นโตเต็มที่ 10-20 ผล รับประทานเป็นอาหารกับน้ำพริก

สารเคมี
  สาร Solasodine จะพบได้ในส่วน ผล ใบ และต้น นอกจากนี้ในใบและผลยังพบ Solanine , Solanidine  Beta-sitosterol และ Diogenin

คุณค่าทางอาหาร
  ลูกมะแว้งต้น ใช้เป็นผักได้ แต่นิยมน้อยกว่ามะแว้งเครือ ลูกมะแว้งต้นมีวิตามินเอ ค่อนข้างสูง



วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

กุยช่าย










ชื่อวิทยาศาสตร์Allium tuberosum Rott-Ler EX Sprengel
ชื่อสามัญChinese chive



ลักษณะกุยช่ายเป็นผักตระกูลเดียวกับหอม การขยายพันธุ์โดยการใช้การแบ่งกอ หรือเพาะเมล็ด หัวกุยช่ายสามารถผลิใบและลำต้นขึ้นมาได้อีกหลังจากตัดเอาส่วนของใบไปบริโภค โดยปล่อยให้ส่วนหัวอยู่ใต้ดิน กุยช่ายเป็นผักที่เจริญเติบโตคล้ายๆกับต้นหอม ใบมีลักษณะแบนยาวสีเขียวเข้ม มีกลิ่นหอม ต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 4 -5 ใบ ต้นสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร สามารถเจริญเติบโตในดินแทบทุกชนิด แต่ชอบดินร่วน มีการระบายน้ำดี กุยช่ายสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี กุยช่ายเป็นพันธุ์ที่มาจากประเทศใต้หวัน มีพันธุ์ก้านดอกยาว พันธุ์ใบใหญ่


คุณค่าทางอาหารต้นกุยช่าย 100 กรัม ให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 136.79 ไมโครกรัม เส้นใย 3.9 กรัม
ดอกกุยช่าย 100 กรัม ให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม แคลเซียม 31 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม เกล็ก 1.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม เส้นใย 3.40 กรัม




การใช้ประโยชน์ทางยา
ต้นและใบ ใช้แก้โรคนิ่ว โดยนำมาดตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าและสารส้มเล็กน้อย กรองเอาน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา เป็นยาแก้หวัด บำรุงกระดูก ทาท้องเด็ก แก้ท้องอืด และแก้ลมพิษ สตรีหลังคลอด หากกินแกงเลียงใบกุยช่ายจะช่วยเพิ่มน้ำนม เมล็ด เป็นยาขับพยาธิเส้นด้ายและพยาธิแส้ม้า นอกจากนี้กุยช่ายยังให้กากอาหาร ช่วยสร้างสมดุลแก่ระบบย่อยอาหาร ช่วยให้ท้องไม่ผูก
- แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม และแก้ท้องผูก โดยใช้ใบสดตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำไปผัดรับประทาน เพราะกุยช่าย มีใยอาหารมาก จึงช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวได้ดี
- แก้อาการฟกช้ำ โดยใช้ใบสดตำละเอียด แล้วพอกบริเวณที่มีอาการ เพื่อบรรเทาปวดและแก้อาการห้อเลือดได้
- แก้อาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย โดยใช้เมล็ดแห้งต้มรับประทาน หรือจะทำเป็นยาเม็ดรับประทานก็ได้
- รักษาโรคหูน้ำหนวก โดยใช้น้ำที่คั้นได้จากใบสดทาในรูหู
- บำรุงน้ำนม คนไทยโบราณเชื่อว่า แม่ลูกอ่อนกินแกงเลียงใส่ผักกุยช่าย จะช่วยบำรุงน้ำนมได้ดี

ตำรับยาที่ใช้ได้แก่ หากถูกตีฟกช้ำเอากุยช่ายสดตำให้แหลกพอกบริเวณที่เป็นจะสามารถแก้อาการฟกช้ำ ห้อเลือดและแก้ปวดได้ หรือเวลาที่เป็นแผลมีหนองเรื้อรัง ใช้ใบสดๆ ล้างให้สะอาดพอกที่แผล หรืออาจผสมดินสอพอง ในอัตราส่วนใบกุยช่าย ๓ ส่วน ดินสองพอง ๑ ส่วน บดให้ละเอียดจนเหลวข้นแล้วทาบริเวณที่เป็นวันละ ๒ ครั้ง ในกรณีที่บวมฟกช้ำเนื่องจากถูกกระแทก
    ส่วนคนที่เป็นแผลริดสีดวงทวารก็แนะนำให้ใช้ใบกุยช่ายสดๆ ใส่น้ำต้มให้ร้อน จากนั้นนั่งเหนือภาชนะเพื่อให้ไอรมจนน้ำอุ่น หรือใช้น้ำต้มล้างที่แผลวันละ ๒ ครั้ง หรือจะใช้ใบหั่นฝอยคั่วให้ร้อน ใช้ผ้าห่อมาประคบบริเวณที่เป็น จะทำให้หัวริดสีดวงหดเข้า
    นอกจากฤทธิ์ลดการอักเสบและฆ่าเชื้อแล้ว ยังเชื่อว่าถ้าแมลงหรือตัวเห็บเข้าหูให้เอาน้ำคั้นกุยช่ายหยอดเข้าไปในหู จะทำให้แมลงหรือเห็บไต่ออกมาเอง ในกรณีนี้ห้ามใช้นิ้วหรือของแข็งแคะออก
    กุยช่ายยังเป็นสมุนไพรที่ผู้หญิงควรรู้จักสรรพคุณในการใช้เป็นอย่างยิ่ง คือถ้าเมื่อใดมีอาการตกขาว คนจีนแนะนำให้เอาต้นกุยช่าย ไข่ไก่ น้ำตาลอ้อย ต้มรับประทาน เมื่อผู้หญิงเริ่มท้องก็ควรรับประทานใบกุยช่ายผัดกับตับหมู เมื่อท้องมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร เอาน้ำคั้นกุยช่ายครึ่งถ้วยและน้ำขิงอีกครึ่งถ้วยผสมกันและนำไปต้มจนเดือด แล้วเติมน้ำตาลตามใจชอบ ดื่นน้ำยาที่ได้
    ถึงตอนคลอดมีอาการหมดสติเขาจะใช้ใบกุยช่ายสดสับให้ละเอียด ใส่ในเหล้าที่ต้มเดือดแล้วกรอกเข้าไปในปาก หรือเมื่อหลังคลอดมีอาการวิงเวียนจะใช้ใบกุยช่ายสับละเอียดเอาใส่ขวด เติมน้ำส้มสายชูร้อนๆ ลงไปแล้วใช้สูดดมแก้วิงเวียน
    คนไทยเราเองเมื่อคลอดลูกแล้วคนโบราณว่าแม่ลูกอ่อนรับประทานผักหอมแป้น (กุยช่าย) แกงเลียงจะช่วยบำรุงน้ำนม ในกรณีที่มดลูกหย่อนหลังมีลูกก็ให้ใช้ใบสดๆ ประคบหรือเอามาล้างที่อวัยวะเพศภายนอก
    จะเห็นว่าสรรพคุณของกุยช่ายมีมากมายเหมาะกับทั้งท่านชายและท่านหญิง ท่านชายที่มีปัญหาหมดสมรรถภาพทางเพศหรือหลั่งเร็ว กำลังเตรียมจะหาซื้อยาไวอากราก็น่าลองใช้สมุนไพรกุยช่ายดูบ้าง ไม่มีผลข้างเคียงอะไร ทั้งยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย
    หรือท่านหญิงที่กำลังท้องกำลังไส้ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ลองหันมาทำยาแก้แพ้ท้องที่แสนจะปลอดภัยและให้ประโยชน์กันดูบ้าง

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

กะเพรา










ชื่อวิทยาศาสตร์Ocimum sancium Linn.
วงศ์Labiatae
ชื่อสามัญHoly basil, Sacred basil
ชื่ออื่นกระเพราแดง กระเพราขาว (ภาคกลาง) ก่ำก้อขาว ก่ำก้อดำ กอมก้อขาว กอมก้อดำ (เชียงใหม่ และภาคเหนือ) ห่อตูปลู ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง-แม่อ่องสอน)


ลักษณะ :
  ลำต้นค่อนข้างแข็ง ตามลำต้นมีขน ใบ เป็นใบเดี่ยวการเกาะติดของใบบนกิ่งแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 1-3ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ใบ ปลายแหลมหรือมน โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนดอก เป็นแบบช่อฉัตรออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ยาว 8-10 ซม. ดอกย่อยมีขนาดเล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาวโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนแยกเป็น 4 กลีบปลายแหลมเรียว ส่วนล่างมีกลีบเดียวค่อนข้างกลมผิวกลีบด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนตามโคนกลีบ กลีบเลี้ยงสีแดงน้ำตาลแกมม่วง และสีเขียว เนื้อกลีบแข็ง ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็นกลีบปลายแหลมแบบหนาม ก้านดอกย่อยสีเขียว ยาวประมาณ 0.20 - 0.30 ซม.ผล แห้งแล้วแตกออก เมล็ด เล็ก รูปไข่สีน้ำตาล มีจุดสีเข้มเมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือกกะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาวและกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่าใบกะเพราขาวสีเขียวอ่อน ส่วนใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดงดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว



สรรพคุณทางยา :
1. ใช้เป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียนและบำรุงธาตุ โดยต้มใบสดและยอดอ่อนรวมกัน ดื่มแต่น้ำ
2. ช่วยขับน้ำนม เพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด โดยใช้ไปสดใส่ในแกงเลียง
3. รรรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน โดยใช้ใบสดผสมเกลือเพียงเล็กน้อยตำให้ละเอียด ทาบริเวณที่เป็น
4. ใช้ไล่ยุง ฆ่ายุง โดยนำใบสดขยี้พอมีกลิ่นแล้วนำไปไว้ใกล้ต้ว
5. แก้อาการปวดหู โดยใบสดไปตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำไปหยอดหู
  - ใบ ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่ง ประกอบด้วย linaloo และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสดหรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือ มาต้ม ให้เดือด แล้วกรอง เอาน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็ก ทารกให้นำเอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำนำมา ผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณ รอบ ๆ สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของ เด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือ ใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลาก เกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหาร ได้อีกด้วย สำหรับ ใบแห้ง ใช้ชงกินกับน้ำ แก้ท้องขึ้น และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง 
  - เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือก ขาว ให้ใช้พอกในบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละออง นั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
  - ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ


วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

กะหล่ำปลีแดง

 






ชื่อวิทยาศาสตร์Brassica oleraceae var. rubra
ชื่อสามัญRed Cabbage


ลักษณะเป็นพืชล้มลุกสองปี มีลักษณะคล้าย กะหล่ำปลีธรรมดา แต่มีสีแดง เนื่องจากใบมีสาร anthocyanin จำนวนมาก ลักษณะลำต้นสั้นมาก ใบเดี่ยวสีแดง หนา และมีนวล ใบเรียงตัว สลับซ้อนกันแน่นหลายชั้น เรียงแน่น หัวกลมหรือค่อนข้างกลม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์


คุณค่าทางอาหาร
  ด้วยเนื้อผักกรุบกรอบของกะหล่ำปลีสีม่วงมีสารอินไทบินที่ออกรสขมกว่ากะหล่ำปลีสีขาวธรรมดา แต่สารอินไทบินัวนี้มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงตับ ถุงน้ำดี ไต และกระเพาะดีขึ้นนอกจากนี้กะหล่ำปลีสีม่วงยังอุดมด้วยธาตุเหล็ก จึงช่วยเสริมฮีโมโกลบินให้แก่ร่างกาย ซึ่งฮีโมโกลบินเป็นตัวการสำคัญที่นำพาออกซิเจนไปกับเม็ดเลือดแดงเพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ
ในกะหล่ำปลีมีสารเอสเมธิลเมโธโอนิน สามารถรักษาโรคกะเพาะอาหารและมีสารกอยโตรเจนที่ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคคอพอก นอกจากนั้นยังพบว่ามีสารต้านมะเร็งโดยเฉพาะหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้มีการวิจัยพบกะหล่ำปลีใช้ประคบเต้านมลดปวดแก้นมคัดแม่หลังคลอด


การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของกะหล่ำปลีแดง :
    กะหล่ำปลีแดง เป็นพืชที่มีเยื่อใยอาหารสูง และอุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน(สาร indols ซึ่งเป็นผลึกที่แยก มาจาก trytophan; กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย) คาร์โบไฮเดรต โซเดียม วิตามินซีซึ่งพบค่อนข้างมากกว่ากะหล่ำปลีสีเขียวถึง สองเท่า ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน มีสารซัลเฟอร์(Sulfer) ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ และต้านสารก่อ มะเร็งที่เข้าสู่ร่างกาย การกินกะหล่ำปลีบ่อยๆ จะช่วยลดโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งในช่องท้อง ลดระดับคลอเรสเตอรอล ละช่วยงับประสาท ทำให้นอนหลับดี น้ำกะหล่ำปลีคั้นสดๆ ช่วยรักษาโรคกะเพาะ อย่างไรก็ตาม กะหล่ำปลีมีสารชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า goitrogen เล็กน้อย ถ้าสารนี้มีมากจะไปขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้นำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อย ดังนั้นไม่ควร กินกะหล่ำปลีสดๆ วัยละ 1-2 กก. แต่ถ้าสุกแล้วสาร goitrogen จะหายไป

    กะหล่ำปลีแดง นิยมรับประทานสด เช่น ในสลัด หรือนำมาตกแต่งจานอาหาร การนำมาประกอบอาหาร ไม่ควรผ่านความร้อนนาน เพราะจะทำให้สูญเสียวิตามินและคุณค่าอาหาร




วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

มะเขือพวง






มะเขือพวง มีลักษณะพิเศษบางประการต่างจากมะเขือชนิดอื่น ๆ คือเป็นไม้พุ่มยืนต้นข้ามปี ไม่ใช่พืชล้มลุกเหมือนมะเขือชนิดอื่นๆ นอกจากนั้นยังมีขนาดใหญ่โตกว่ามะเขือชนิดอื่น ๆ ด้วย เพราะมีทรงพุ่มสูงถึงกว่า 1 เมตร ขึ้นไปถึง 2 เมตรทีเดียว 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum torvum Sw.
วงศ์ SOLANACEAE
ชื่ออื่น ๆ มะเขือพวง (กลาง) มะแคว้งกุลา (เหนือ) หมากแข้ง (อีสาน) มะเขือละคร (โคราช) เขือน้อย เขือพวง ลูกแว้ง เขือเทศ (ใต้) และมะแว้งช้าง (สงขลา)

ลักษณะพฤกษศาสตร์
  มะเขือพวงเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูง 1 - 2 เมตร ลำต้นตั้งตรงและแข็งแรง ลำต้นมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ลำต้นและใบมีหนามเล็ก ๆ ห่างขึ้นทั่วไป แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลมริมใบหยักเว้าต้น ใบยาว 4 - 8 นิ้ว ดอกออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกออกเป็นกระจุกมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีเกสรตัวผู้และตัวเมียติดอยู่กับหลอดของกลีบดอก ผลรูปร่างกลม ผิวเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1ซม.ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ภายในมีเมล็ดเล็ก ๆ

การปลูก
  มะเขือพวงขึ้นเองตามป่าและพื้นที่รกร้าง หรือตามบ้าน เป็นไม้กลางแจ้งและทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ประโยชน์
  ผลดิบของมะเขือพวงใช้เป็นยาแก้ไอ ขับปัสสาวะ และช่วยย่อยอาหาร การกินผลมะเขือพวงดิบเป็นอาหาร (เช่น ในเครื่องจิ้มชนิดต่าง ๆ) ก็คงมีสรรพคุณทางยาด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนรากของมะเขือพวงใช้รักษาโรคฝ่าเท้าแตก หรือโรคตาปลาในด้านการเกษตร มะเขือพวงนับเป็นมะเขือที่เหมาะกับการเกษตรแบบยั่งยืนที่ไม่ใช้สารเคมี (ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช ฯลฯ)เพราะเป็นมะเขือที่ทนทาน แข็งแรง ต้นสูงใหญ่ และอายุยืนหลายปี ไม่ต้องปลูกและดูแลรักษามากเหมือนมะเขือชนิดอื่นการเก็บผลมะเขือพวงใช้แรงงานมาก เพราะผลเล็กอยู่บนต้นขนาดใหญ่ จึงเหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่ใช้แรงงานเป็นทุนหลัก ดังจะเห็นว่าในหมู่ชนพื้นเมืองดั้งเดิม เช่น ชาวไทยภูเขาต่าง ๆ นิยมปลูกมะเขือพวงไว้ในระบบเกษตรพื้นบ้าน เช่น วนเกษตรหรือไร่หมุนเวียนในเขตป่าภาคเหนือและภาคตะวันตก สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกผักสวนครัว เอาไว้บริโภคเองในครอบครัวก็อาจปลูกมะเขือพวงเอาไว้สักต้นก็จะเก็บผลไปประกอบอาหารได้นานหลายปี โดยไม่ต้องปลูกใหม่หรือเอาใจใส่มากเท่าพืชหรือมะเขือชนิดอื่น




ประโยชน์ทางยา
ลำต้น สรรพคุณ ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ปวด ฟกช้ำ
ใบ สรรพคุณ ห้ามเลือด แก้ฝีบวม มีหนอง
ผล สรรพคุณ ขับเสมหะ
าก รักษาแผลแตกบริเวณเท้า รากยังใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้ ขับเสมหะ

สรรพคุณ
ทั้งต้น ใบ และผล รสจืด เย็นและมีพิษเล็กน้อย ทำให้เลือดหมุนเวียนดี แก้ปวด ฟกช้ำ ตรากตรำทำงานหนัก กล้ามเนื้อบริเวณเอวฟกช้ำไอเป็นเลือด ปวดกระเพาะ ฝีบวมมีหนองและอาการบวมอักเสบ ราก ใช้พอกเท้าแตกเป็นร่องเจ็บ

รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
รสขื่น แก้ไอ ขับเสมหะ มะเขือพวง 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 46 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 6.1 กรัม แคลเซียม 158มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 110 มิลลิกรัม เหล็ก 7.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 554 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.17 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.09 มิลลิกรัมไนอาซิน 2.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 4 มิลลิกรัม

การปรุงอาหาร
ผลอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด หรือลวกแกล้มกับน้ำพริก ผลอ่อนใช้ใส่อาหารหลายชนิด เช่น แกงจืด น้ำพริกกะปิ แกงเขียวหวาน เป็นต้น


วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ตะไคร้






ส่วนที่นำมาใช้

ต้น หัว ใบ ราก และต้น


สรรพคุณ

ทั้งต้น : ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ

หัว : เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้ส่วนที่ใช้

ราก : ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย

ต้น : ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย


วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

ผักชี


ชื่อวิทยาศาสตร์        Coriandrum sativum  L.
ชื่อสามัญ                Coriander
วงศ์                      Umbelliferae
ชื่ออื่นๆ                  ผักหอม (นครพนม) ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ผักหอมป้อม ผักหอมผอม (ภาคเหนือ) ยำแย้ (กระบี่)

ลักษณะ :
   ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ภายในจะกลวง และมีกิ่งก้านที่เล็ก ไม่มีขน มีรากแก้วสั้น แต่รากฝอยจะมีมาก ซึ่งลำต้นนี้จะสูงประมาณ 8-15 นิ้ว ลำต้นสีเขียวแต่ถ้าแก่จัดจะออกเสียเขียวอมน้ำตาล ใบ ลักษณะการออกของใบจะเรียงคล้ายขนนก แต่อยู่ในรูปทรงพัด ซึ่งใบที่โคนต้นนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่ปลายต้น เพราะส่วนมากที่ปลายต้นใบจะเป็นเส้นฝอย มีสีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อ ตรงส่วนยอดของต้น ดอกนั้นมีขนาดเล็ก มีอยู่ 5 กลีบสีขาวหรือชมพูอ่อนๆ ผล จะติดผลในฤดูหนาว ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมโตประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ตรงปลายผลจะแยกออกเป็น 2 แฉก ตาวผิวจะมีเส้นคลื่นอยู่ 10 เส้น
ผักชีที่ปลูกกันแพร่หลายในประเทศไทยมี 2 ชนิดคือ
1.พันธุ์พื้นเมือง มีลักษณะใบบาง ต้นเล็ก เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นหอมมากจนฉุน
2.พันธุ์อาฟริกา มีลักษณะใบใหญ่หนา ต้นใหญ่ กลิ่นหอมเล็กน้อย อายุยาวนานกว่าพันธุ์พื้นเมือง

คุณค่าทางอาหาร
ใบสด ประกอบด้วย โปรตีน เส้นใย ฟอสฟอรัส เบต้าเคโรทีน
ผล หรือลูกผักชี มีน้ำมันหอมระเหย(1.8%)ประกอบด้วยสารไลนาโลออล (Linalool) เป็นส่วนใหญ่ มีน้ำมันไม่ระเหย 13% มีสารสำคัญชื่อโคริแอนดรอล (coriandrol) มีเทนนิน และแคลเซียมออกซาเลต และมีสารเอสโตรเจน (plant estrogen)

ประโยชน์
ผักชีที่เรานำมาใช้ประโยชน์ก็คือ เมล็ดและต้น ซึ่งทั้งสองส่วยนี้จะมีกลิ่นเฉพาะตัว เมล็ดผักชีใช้รักษาอาการปวดท้องและช่วยย่อยอาหาร ส่วนใบที่เรานำมาทำเป็นผักแนมรับประทานกับอาหารอื่น หรือแต่งหน้าอาหารนั้นก็มีสรรพคุณช่วยย่อยเช่นกัน และยังมีเบต้าแคโรทีนอีกด้วย แม้จะไม่มากเท่าผักอื่นก็ตาม นอกจากนี้ผักชียังมีฤทธิ์เผ็ดร้อนช่วยขับลม บำรุงธาตุ แก้คลื่นไส้ได้
    ใชัในการช่วยย่อย บำรุงกระเพาะ เจริญอาหาร ขับลมขับพิษ แก้หวัด ขับเหงื่อ ช่วยย่อยอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด แก้โรคหัด พอกทาแก้ผื่นคัน แก้ไฟลามทุ่ง แก้ตับอักเสบ ลดการปวดบวมข้อ ต้มดื่มแก้ไอ แก้หวัด อาหารเป็นพิษ แก้สะอึก กระตุ้นการทำงานของเลือดพลาสมา และกล้ามเนื้อ มีสารต้านมะเร็ง ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา และไข่ของแมลง จึงใช้ถนอมอาหาร
ลูกผักชี แก้พิษตานซาง แก้กระหายน้ำ แก้ลมวิงเวียน แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร แก้ปวดฟัน ช่วยย่อยอาหาร ขับลม บำรุงธาตุ ต้มน้ำอาบเมื่อเป็นหัด แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ใช้ผลเตรียมน้ำมันผักชีซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหย หากถูกผิวนานๆอาจระคายเคืองได้
ราก เป็นกระสายยา กระทุ้งพิษไข้หัว เหือดหัด อีสุกอีใส อีดำอีแดง
กากลูกผักชี (หมายถึงลูกผักชีที่สกัดเอาน้ำมันออกแล้ว) มีโปรตีน 11-17 % ไขมัน 11-20% จึงเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดี ผงลูกผักชีบดใช้โรยแผลกันเชื้อฝีหนองได้ นอกจากนี้แล้ว ลูกผักชียังใช้เป็นเครื่องเทศผสมเครื่องแกง ผักดอง ไส้กรอก แต่งกลิ่นอาหารต่างๆโดยเฉพาะเหล้ายิน แต่งกลิ่นช็อกโกแลต โกโก้ ได้

สรรพคุณทางยา
  • ผล - แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นมูก แก้ริดสีดวงทวาร มีเลือดออก แก้ท้องอืดเฟ้อ
  • เมล็ด - แก้ปวดฟัน ปากเจ็บ
  • ต้นสด - ช่วยให้ผื่นหัดออกเร็วขึ้น แก้เด็กเป็นผื่นแดงไฟลามทุ่ง

วิธีใช้
  • แก้บิดถ่ายเป็นเลือด  ใช้ผล 1 ถ้วยชา ตำผสมน้ำตาลทราย ผสมน้ำดื่ม
  • แก้บิด ถ่ายเป็นมูก  ใช้น้ำจากผลสดอุ่น ผสมเหล้าดื่ม
  • แก้ริดสีดวงทวาร มีเลือดออก
    - ใช้ผลสดบดให้แตก ผสมเหล้าดื่มวันละ 5 ครั้ง
    - ใช้ต้นสด 120 กรัม ใส่นม 2 แก้ว ผสมน้ำตาล ดื่ม
  • แก้ท้องอืดเฟ้อ  ใช้ผล 2 ช้อนชา ต้มน้ำดื่ม
  • แก้เด็กเป็นผื่นแดงไฟลามทุ่ง ช่วยให้ผื่นหัดออกเร็วขึ้น  ใช้ต้นสด หั่นเป็นฝอย ใส่เหล้าต้มให้เดือด ใช้ทา
  • แก้ปวดฟัน ปากเจ็บ  ใช้เมล็ดต้มน้ำ ใช้อมบ้วนปากบ่อยๆ