วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กระถิน









ชื่อวิทยาศาสตร์Leucaena glauca Benth.
ชื่อสามัญWhite popinac, Wild tamarind, Leadtree
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น ๆกะเส็ดโคก กะเส็ดบก ตอเขา สะตอเขา สะตอเทศ ผักก้านถิน ผักหนองบก กระถินไทย กระถินบ้าน



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์กระถินเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา
  1. ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 12.5-25 ซม. แกนกลางใบ ประกอบยาว 10-20 ซม. มีขน แยกแขนง 2-10 คู่ ยาว 5-10 ซม.ก้านแขนงสั้น มีขน ใบย่อย 5-20 คู่ เรียงตรงข้าม รูปแถบ หรือรูปขอบขนานแกมรูปแถบ กว้าง 2-5 มม. ยาว 0.6-2.1 ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยวขอบมีขน ท้องใบมีนวล
  2. ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอกออกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามง่ามใบ 1-3 ช่อ เป็นฝอยนุ่มมีกลิ่นหอมเล็กน้อย
  3. ผล เป็นฝัก ฝักออกเป็นช่อแบนยาวประมาณ 4-5 นิ้วฟุต เห็นเมล็ดเป็นจุดๆ ในฝัก ตลอดฝัก

การปลูก
  กระถินทนความแห้งแล้งได้ดี และเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ประโยชน์ทางยา :
  ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอก ราก เมล็ด

รสและสรรพคุณในตำรายาไทย :
1. ดอก รสมัน บำรุงตับ แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา
2. ราก รสเจื่อน ขับลม ขับระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ
3. เมล็ด ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม (ascariasis)



ประโยชน์ทางอาหาร
  ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อน และฝักอ่อน



วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ขิง









ชื่อสามัญ : Ginger 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinale Roscoe
วงศ์Zingiberaceae
ชื่ออื่น : ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทรบุรี) , ขิงเผือก (เชียงใหม่) , สะเอ (แม่ฮ่องสอน) , ขิงบ้าน, ขิงแครง, ขิงป่า, ขิงเขา, ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง) , เกีย (จีนแต้จิ๋ว)

ลักษณะโดยทั่วไป :

  ลักษณะ : เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยงๆ กว้าง 1.5 - 2 ซม. ยาว 12 - 20 ซม. หลังใบห่อจีบเป็นรูปรางนำปลายใบสอบเรียวแหลม โคนใบสองแคบและจะเป็นกาบหุ้มลำต้นเทียม ตรงช่วงระหว่างกาบกับตัวใบจะหักโค้งเป็นข้อศอก ดอก สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อรูปเห็ดหรือกระบองโบราณ แทงขึ้นมาจากเหง้า ชูก้านสูงขึ้นมา 15 - 25 ซม. ทุกๆ ดอกที่กาบสีเขียวปนแดงรูปโค้งๆ ห่อรองรับ กาบจะปิดแน่นเมื่อดอกยังอ่อน และจะขยายอ้าให้ เห็นดอกในภายหลัง กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอก มีอย่างละ 3 กลีบ อุ้มน้ำ และหลุดร่วงไว โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนปลายกลีบผายกว้างออกเกสรผู้มี 6 อัน ผล กลม แข็ง โต วัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม.

  การขยายพันธุ์ : ใช้เหง้า ปลูกในดินร่วนซุยผสมปุ๋ยหมัก หรือดินเหนียวปนทราย โดยยกดินเป็นร่องห่างกัน 30 ซม. ปลูกห่างกัน 20 ซม. ลึก 5 - 10 ซม. ขิงชอบขึ้นในที่ชื้นมีการระบายน้ำดี ถ้าน้ำขังอาจโดนโรคเชื้อรา และการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งอาจเป็นการลงทุนสูงแต่คุ้มค่าและจะได้พันธุ์ที่ปลอดเชื้อ เพราะส่วนใหญ่โรคที่พบมักติดมากับท่อนพันธุ์ขิง

  ส่วนที่นำมาเป็นยา : เหง้าแก่สด

  สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ : ในเหง้าขิงมี น้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 1 - 3 % ขึ้นอยู่กับวิธีปลูกและช่วงการเก็บรักษา ในน้ำมันประกอบด้วยสารเคมี ที่สำคัญคือ ซิงจิเบอรีน (Zingiberene) , ซิงจิเบอรอล (Zingiberol) , ไบซาโบลี (bisabolene) และแคมฟีน (camphene) มีน้ำมัน (oleo - resin) ในปริมาณสูง เป็นส่วนที่ทำให้ขิงมีกลิ่นฉุน และมีรสเผ็ด ส่วนประกอบสำคัญ ในน้ำมันซัน ได้แก่ จินเจอรอล (gingerol) , โวกาออล (shogaol) , ซิงเจอโรน (zingerine) มีคุณสมบัติเป็นยากัดบูด กันหืน ใช้ใส่ในน้ำมันหรือไขมัน เพื่อป้องกันการบูดหืน สารที่ทำให้ขิงมีคุณสมบัติเป็นยากันบูด กันหืนได้คือ สารจำพวกฟีนนอลิค


สรรพคุณ :

  เหง้า : รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ

  ต้น : รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง

  ใบ : รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ

  ดอก : รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ

  ราก : รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด

  ผล : รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ


วิธีใช้เพื่อเป็นยา / ประโยชน์อื่น
     นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำเหง้าสดหมกไฟรับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
1. รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยนำขิงแก่สด ประมาณ 2-3 เหง้า มาทุบพอแตกต้มกับน้ำ
2. รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้าำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้เนื่องจากหวัด
3. รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้วย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง    หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
4. รักษาอาการปวดประจำเดือน ในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแก่แห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่มบ่อยๆ
5. แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง
6. รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบ เป็นหนอง
7. รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียด คั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณฟันที่ปวด

สารสำคัญที่พบ
  กลิ่นหอมเฉพาะตัวของขิงเกิดจากน้ำมันหอมระเหยในเหง้า ซึ่งมีสารสำคัญคือ เซสควิเทอร์ฟีน ไฮโดรคาร์บอน เซสควิเทอร์ฟีน แอลกอฮอล์โมโนเทอร์ฟีนอยด์ เอสเตอร์ ฟีนอล รสเผ็ดร้อนและกลิ่นฉุนเกิดจากน้ำมันชัน ในเหง้าเช่นเดียวกัน ส่วนประกอบอื่นๆคือ แป้งและยางเมือกนอกจากนี้ ขิงยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายอีก คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินเอ ฯลฯ

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
     ขิงที่นำมาประกอบอาหารมีหลายรูปแบบคือ ขิงสด ขิงดอง ขิงแห้ง ขิงผง รวมทั้งน้ำขิงที่เป็นเครื่องดื่ม ขิงเป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหารเพิ่มรสชาติ และดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ เช่น ใช้โรยหน้าปลานึ่ง โรยหน้าโจ๊กหรือผสมในน้ำจิ้มข้าวมันไก่ ต้มส้มปลา แกงฮังเล ยำกุ้งแห้ง ขิงยำเป็นเครื่องเคียงของเมี่ยงคำ หรือทำเป็นขนมหวาน เช่น บัวลอยไข่หวาน มันเทศต้ม เป็นต้น
     นอกจากนี้ขิงดองยังเป็นอาจาดในอาหารอีกหลายชนิด เช่น ข้าวหน้าเป็ด หรืออาหารญี่ปุ่น รวมทั้งยังเป็นส่วนผสมในการแต่งกลิ่นอาหารหลายชนิด เช่น คุกกี้ พาย เค้ก พุดดิ้ง ผงกะหรี่ เป็นต้น ในประเทศแถบตะวันตกนำขิงไปทำเป็นเบียร์ คือ เบียร์ขิง (Ginger beer)





วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มะกรูด








มะกรูด : เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อยใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนามีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่ายมีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้วยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี)


ชื่อสามัญPorcupine Orange, Kiffir Lime, Leech Lime
ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus hystrix DC.
วงศ์ Rutaceae
ชื่อท้องถิ่นมะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะหูด (หนองคาย) ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) โกรยเซียด (เขมร) มะขู (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้ำมัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มีหลายเมล็ด

ส่วนที่ใช้ผล ผิวของผล น้ำของผล ใบ และราก

สารสำคัญในใบและผลมะกรูด เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอม ระเหยในปริมาณ 0.08 % และ4 % ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูดมักประกอบด้วยเบต้า-ไพนีน, ไลโมนีนและซาบินีน เป็นสารหลัก ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากใบจะประกอบด้วย ซีโทรเนลลาล,ไอโซพูลิโกล และไลนาลูออล เป็นสารหลัก ส่วนในน้ำมะกรูดมีกรดซิตริก ไวตามินซี และกรดอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ

คุณสมบัติ :
  1.ใช้เป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่าง ๆ คือ น้ำในผลแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยา เพื่อใช้ฟอกเลือด และบำรุงโลหิตสตรี เนื้อของผลใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด ผลมะกรูดที่คว้านไส้ออกนำมหาหิงส์ใส่แทนใช้เป็นยาขับลมแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน
  2.ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางค์ต่าง ๆ
  3.กรด Citric ช่วยขจัดคราบสบู่ (ด่าง) ที่หลงเหลืออยู่ ทำให้ผมหวีง่าย น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม
  4.ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ในดับกลิ่นคาวของอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ

สรรพคุณทางยาขับลมแก้จุกเสียด

วิธีใช้ :
  1.ตัดจุกผลมะกรูด คว้านไส้กลางออก เอามหาหิงส์ใส่แล้วปิดจุก นำไปเผาไฟจนดำเกรียม บดเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งรับประทาน จะช่วยขับลม แก้ปวดท้องหรือป้ายลิ้นเด็กอ่อน เป็นยาขับขี้เทาได้
  2.น้ำมะกรูดใช้ถูกฟัน แก้เลือดออกตามไรฟัน
  3.เอาผลมะกรูดมาดอง เป็นยาดองเปรี้ยวรับประทานขับลมขับระดู
  4.เปลือกผลฝานบาง ๆ ชงน้ำเดือดใส่การะบูรเล็กน้อย รับประทานแก้ลมวิงเวียน
  5.เปลือกฝนใช้ผสมในเครื่องสำอางบางชนิด เช่น แชมพู สบู



วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แครอท










ชื่อวิทยาศาสตร์ Daucus carota L.
วงศ์Umbelliferae
ชื่อสามัญCarrot
ชื่ออื่น ๆผักกาดหัวเหลือง ผักหัวชี


ลักษณะ :
  แครอทเป็นไม้ล้มลุก อายุ 1 - 2 ปี หัวเป็นสีส้ม และมีสารแคโรทีน
อยู่เป็นจำนวนมาก รากยาวเรียว ใบมีลักษณะเป็นฝอย แครอท เป็น
พืชกินหัวชนิดหนึ่ง มีลักษณะยาว หัวแครอทมีหลายสี เช่น เหลือง 
ม่วง ส้ม แต่ที่นิยมรับประทานในปัจจุบันคือสีส้ม เป็นพืชแถบเอเชีย
ตะวันออกและเอเชียกลาง มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าแท่งดิน
สอ หรือที่เรียกว่าเบบี้แครอท ไปจนถึง ขนาดใหญ่มีถิ่นกำเนิด อยู่แถบ
เอเชียกลาง จนถึงทางตะวันออก ต่อมาได้เผยแพร่เข้าไปใน ยุโรป 
และประเทศจีน แครอทเป็นพืชสองฤดู โดยฤดูแรกเจริญทางต้น ใบ 
และราก  ฤดูที่สองจะเจริญทางดอก และเมล็ด ลักษณะลำต้นเป็นแผ่น
ใบ จะเจริญจากลำต้น เป็นกลุ่มมีก้านใบยาว  ประกอบด้วย เปลือกบาง(Periderm)
และส่วนของเนื้อ(Cortex) ซึ่งประกอบด้วยท่อ
อาหาร และเป็นแหล่งเก็บ อาหารสำรอง ส่วนใหญ่อยู่ในรูป ของน้ำ
ตาลเป็นส่วนประกอบ 45-65% ของหัว เนือสีขาว เหลือง ส้ม แดง 
ม่วงและดำ ส่วนของแกน(inner core) ประกอบด้วย ท่อน้ำ(xylem) 
และแกน(pith) แครอท สายพันธุ์ที่มีคุณภาพสูง จะมีแกนขนาดเล็ก 
และมีสีเดียว กับเนื้อหรือมีส่วนของเนื้อ มากกว่าส่วนของแกน การปลูก
ฤดูที่สองเพื่อผลผลิตเมล็ดพันธุ์ลำต้นจะยืดตัว สร้างก้านดอกยาว 2-4 
ฟุต บนยอดมีช่อดอก ซึ่งช่อแรกจะเจริญ จากส่วนกลางของลำต้น
ต่อจากนั้นช่ออื่นๆ จะเจริญตาม การผสมเกสรจะเป็น แบบผสมข้าม 
ส่วนใหญ่ แมลงเป็นตัวช่วยผสมเกสร


คุณค่าทางอาหาร :
  แครอท เป็นพืชที่อุดมไปด้วยสาร Beta carotene โดยเฉพาะ
บริเวณส่วนของเปลือกแก่ ซึ่งสามารถเปลี่ยน เป็นวิตามินเอสูง 
(11,000 IU) นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินบี วิตามิน
เอ ช่วยทำให้ร่างกาย มีภูมิต้านทานโรคหวัด ป้องกันมะเร็ง ป้องกัน
อาการผิดปกติ ในกระดูก โรคผิวหนัง และรักษาสายตา

ประโยชน์ :


  สารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเซลล์ของมะเร็ง ต่อต้านการเกิดเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี โดยจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งในปอดได้ ซึ่งคนที่กินผักที่มีเบต้าแคโรทีนน้อยที่สุด จะเสี่ยงต่อมะเร็งในปอดมากเป็นเจ็ดเท่าของคนที่กินมากที่สุด นอกจากนั้นแล้วก็ยังช่วยให้ตับขับสารพิษออกจากร่างกายได้ดี
และยังมีแคลเซียมเพคเตทที่ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอล ลดการเกิดโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลว นอกจากนั้นในแครอทยังมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงและลดการเสื่อมของตา มีสารต่างๆ ที่เป็นทั้งเกลือแร่และวิตามินอีกมากมาย เช่นธาตุแคลเซียม มีฟอสฟอรัส เหล็ก มีวิตามินเอ บี1 บี2 และวิตามินซี อีกทั้งยังช่วยบำรุงเซลล์ผิวหนังและเส้นผมให้มีสุขภาพดีอีกด้วย หัวแครอทมีวิตามินเอสูง ใช้รับประทานเพื่อบำรุงสายตา แก้โรคตาฟาง ใช้เป็นยาขับปัสสาวะเนื่องจากมีปริมาณเกลือโปแตสเซี่ยมสูง และยังสามารถใช้เป็นยาขับพยาธิไส้เดือนได้อีกด้วย แครอทมีสาร "เบต้าแคโรทีน" ที่ช่วยยับยั้งเซลล์ของมะเร็งและต่อต้านการสารอนุมูลอิสระซึ่งเป็นต้นกำเนิดเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี มีส่วนช่วยให้ตับขับสารพิษออกจากร่างกาย แคลเซียมเพคเตทในแครอท ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอล ลดการเกิดโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลว บำรุงเซลล์ผิวหนังและเส้นผม นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม มีฟอสฟอรัส เหล็ก มีวิตามินเอ บี1 บี2 และวิตามินซี แต่การกินแครอทสีส้มจำนวนมากเป็นประจำจะทำให้สีผิวเป็นสีเหลือง

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ขมิ้น









ชื่อสามัญ Turmeric,Curcuma
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma Longa Linn
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น ขมิ้นหัว,ขมิ้นแกง,ขมิ้นหยวก (เชียงใหม่) ขมิ้น (กลาง) หมิ้น,ขี้มิ้น (ภาคใต้) สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตา ยอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร)

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เหง้าขมิ้นมีสารประกอบที่สำคัญ เป็นน้ำมันหอมระเหย "เอสเซนเซียล" และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้มที่ทำให้ขมิ้นได้ชื่อว่า Curcumin จากการทดลองพบว่าขมิ้นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดอาการอักเสบ มีฤทธิ์ในการขับน้ำได้ดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณรักษาปวดท้องเสียด ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขมิ้นไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัยสูง

ลักษณะทั่วไป :
  ต้นเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดินมากเป็นพรรณไม้เดียวกันกับว่านหรือขิง มีลำต้นสูงประมาณ 50-70 ซม. เนื้อในจะมีสีเหลืองอมส้ม และมีกลิ่นหอม
  ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปหอกแกมขนานกัน กว้างประมาณ 8-10 ซม. และยาวประมาณ 30-40 ซม. ก้านใบยาวราวประมาณ 8-15 ซม. เป็นก้านใบแคบ ๆ มีร่องแผ่ครีออกเล็กน้อย หน้าแล้งใบนั้นจะแห้งเหลือเหง้าใต้ดินอยู่  ห้ามรดน้ำเพราะ ถ้าแฉะไปเหง้าก็จะเน่า แต่ถ้าฤดูฝน ฝนตกก็จะแทงต้นใหม่และออกดอก
  ดอกจะออกเป็นช่อใหญ่สวย ก้านช่อนั้นจะยาวพุ่งออกมาจากใต้ดิน ก้านช่อดอกมียาวประมาณ 5-8 ซม. ส่วนใบประดับสีเขียวอ่อน ๆ หรือ สีขาว ตรงปลายช่อดอกจะมีสีชมพูอ่อน จะจัดเรียงซ้อนกันอย่างระเบียบ ใบประดับ 1 ใบ จะมีดอกอยู่ 2 ดอก ใบประดับย่อยนั้นรูปขอบจะขนานยาว 3-3.5 ซม. กลีบรองกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ มีขน กลีบดอกจะมีสีขาว ตรงโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว ปลายของมันจะแยกเป็น 3 ส่วน
  เกสรเกสรตัวผู้มีลักษณะคล้ายกลีบดอก มีขน ส่วนอับเรณูจะอยู่ใกล้ ๆ ปลาย ท่อเกสรตัวเมีย และ ยาว    ยอดเกสรตัวเมียเป็นรูปปากแตร เกลี้ยง  รังไข่จะมีอยู่ 3 ช่อง แต่ละช่องนั้น จะมีไข่อ่อนอยู่ 2 ใบ

การขยายพันธุ์ก่อนที่จะปลูกควรทำการด้ายหญ้า เพื่อเป็นการกำจัดวัชพืชและทำการไถพรวนดิน มีความลึกประมาณ 20-30 ซม. แล้วปล่อยไว่นานหนึ่งอาทิตย์ ให้ดินแห้งเป็นการทำลายพวกแมลงและราบางชนิด หลังจากนั้นก็ทำการยกร่องให้สูงประมาณ 25 ซม. กว้าง 45-50 ซม. ท่อนพันธุ์ที่คัดปลูกควรจะมีอายุ 11-12 เดือน แล้วตัดเป็นท่อน ๆ โดยให้มีตาประมาณท่อนละ 1-2 ตา ก่อนที่จะลงมือปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยน้ำยาไดโฟลาแทน (Difolatan) เพื่อเป็นการป้องกันโรครากเน่า ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในร่องก่อนที่จะปลูก ควรจะปลูกต้นฤดูฝนราวพฤษภาคม ถ้าปลูกช้าฝนจะตกหนัก จะทำให้ขมิ้นที่ปลูกไว้เน่าตายได้ ระยะของการปลูก 900 ตารางเซนติเมตร หรือ 1225 ตารางเซนติเมตร ขุดหลุมลึกราว 6-8 เซนิเมตร หลังการปลูกได้ เจ็ดเดือน ขมิ้นจะเริ่มออกใบสีเหลือง แสดงว่าหัวของขมิ้นนั้นเริ่มแก่แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ในแปลงจนกระทั่งมีอายุ 9-10 เดือนจึงทำการขุดได้

ส่วนที่ใช้
เหง้าที่แก่จัด ใช้ทั้งสดและแห้ง เหง้าแห้งนิยมปนเป็นผง

สรรพคุณ
มีการศึกษาพบว่า หากให้รับประทานขมิ้นพร้อมกับ อาหารจะช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้ และยังทำลาย ไวรัสที่ปนเปื้อนมากับอาหารได้ การกินอาหารที่ใส่ขมิ้น จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากจะ ใช้ แต่งกลิ่นสีให้อาหารเท่านั้น
เนื่องจาก เหง้าขมิ้นมีสารที่ยับยั้งการหลั่งของกรด จึงใช้ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟื้อ และยังช่วยเจริญอาหารด้วยขมิ้นยังมีผลดีต่อผิวหนัง คือ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้อาการผื่นคัน รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลสด ระงับเชื้อ รักษาพิษโลหิตและเสมหะ ทั้งนี้ยังใช้ขับระดูสำหรับสตรีที่มีกลิ่นเหม็น และมีเลือดจับกันเป็นก้อนสีดำ จะช่วยละลายให้เลือดแตกเป็นลิ่ม ๆ ออกมา แก้บิดเป็นมูกเลือด แก้น้ำดีพิการ ช่วยขับลมให้ผายออกมาทางทวารหนัก หรือ ให้เรอออกมาทางปาก ฝนขมิ้นแล้วหยอดตา แก้อาการตาแดง ตาเปียกแฉะ มีขี้ตาเป็นประจำในฤดูแล้ง นอกจากแก้โรคแผลในลำไส้ และกระเพาะแล้วยังแก้ธาตุพิการ ท้องร่วงด้วย ถ้าหากมีอาการของไข้หวัด ขมิ้นก็สามารถใช้ดมแก้หวัด ขับเสมหะในลำคอ ผสมสมุนไพรอย่างอื่น ๆ เป็นยาคุมธาตุ แถมยังแก้อาการฟกช้ำดำเขียวตามร่างกาย ด้วยการเอาหัวสด ๆ มาตำพอกบรรเทาอาการอักเสบและเคล็ดขัดยอก ไว้ด้วย นอกจากนี้ขมิ้นยังมีฤทธิ์ต้านวัณโรค แก้อาการไม่สบาย ลดไข้ รักษาไข้ผอมเหลือง บรรเทาอาการวิงเวียน ดมแก้หวัด ระงับอาการชัก รักษาฟัน แก้หญิงที่ตกโลหิต รักษาอาการโลหิตออกทางทวารหนักและเบา

เหง้า ใช้รักษาแผลในลำไส้ เจริญอาหาร ขับลม คล้ายกล้ามเนื้อเรียบในลำไส้ที่เกร็งตัว บรรเทาอาการวิงเวียน ไม่สบายมีฤทธิ์ต้านวัณโรค ระงับเชื้อ รักษาโรคผิวหนัง แก้หวัด ผื่นคัน เป็นยาบำรุง รักษากลากเกลื้อน ระงับอาการชัก ขับปัสสาวะ ลดไข้ ฆ่าเชื้อพยาธิ ป้องกันโรคหนองใน อาการฟกช้ำ รักษาแผลสด แก้ท้องขึ้น บรรเทาอาการท้องขึ้น ทำให้ผายลม รักษาไข้ผอมเหลือง ไข้ท้องมาน รักษาพิษ เสมหะและโลหิต ใช้เป็นยาขัดฟัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร รักษาฟัน แก้หญิงที่ตกโลหิต รักษาโลหิตออกทางทวารหนักและโลหิต นอกจากจะใช้เดี่ยวๆ แล้วขมิ้นยังเป็นส่วยผสมของตำรับยาสมุนไพร รักษารคต่าง ๆ คือ เหง้าจะมีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว ใช้เป็นยาสมานแผลสดและแผลถลอก หรือใช้ผสมกับยานวดเพื่อเพื่อคลายเส้นยาคุมธาตุ รักษาเคล็ดขัดยอก รักษาชันนะตุในเด็ก บรรเทาอาการปวดฟัน และเหงือกบวม รักษาเคล็ดขัดยอก หรือน้ำกัดเท้า ส่วนในเหง้าขมิ้นนั้นจะมีสารสีเหลืองซึ่งเราเรียกว่า curcumin และ resin นอกจากนี้ยังมีน้ำมันระเหยประมาณ 5% ซึ่งประกอบด้วย borneol,camphene, zingerene,l.4cineol,sabinene และ phellandrene สารที่อยู่ภายใน หัวขมิ้นเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการทดสอบกรดบอริก ที่มีในผงชูรสปลอก ใบ ใช้ผสมกับยานวดเพื่อคลายเส้น ใช้ผสมเป็นยาอายุวัฒนะ รักษามะเร็ง ริดสีดวงทวารปวดมวนรักษาซาง และฝีดาษ และชักอาการไข้ รักษาผมที่หงอก ผมร่วง ผมคัน รักษามุตกิด ท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาแผลโรคผิวหนังผื่นคันบำรุงผิว รักษาอาการท้องเดิน ปวดท้อง ธาตุพิการ อุจจาระเป็นมูกโลหิต ลดอาการบวม รักษาไข้ปวดหัวตัวร้อน สารพัดไข้ ปวดศีรษะ รักษากาฬ รักษาพิษสำแลง-ของแสลง รักษาฝี บิดตานทรวง ถ่ายท้อง ท้องเดิน ท้องร่วง ลดการขับปัสสาวะ รักษามูกโลหิต โลหิตเน่า ขับน้ำคาวปลา รักษาตานขโมย แมงเตียนกินรากผม เหา รังแค กษัย บำรุงโลหิต เจริญอาหาร ผสมกับยาต้มห้ามโลหิตจากทวารทั้ง 9 หรืออาเจียนเป็นโลหิต ผสมยารักษาเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย บำรุงน่ำนม เป็นฝาโรคหนองใน เบาขัด รักษาอาการลมวิงเวียน โรคปวดในข้อ โรคเหน็บชา คลื่นเหียนจุกเสียดและลมขึ้นสูง โรคประสาทผสมยาทาฝี รักษาแผลเรื้อรังเน่าร้าย ผอมแห้งอยู่ไฟไม่ได้ โรคกุฏฐัง ทำน้ำนมสตรีให้บริสุทธิ์ ขับปัสสาวะในสตรี รักษาอาการปวดบวมท้องขึ้นลงท้องอันเกิดจากวาโยธาตุกำเริบ
ตำรับยาแง่งขมิ้น ให้ตัดเอาแง่งขมิ้นขนาดพอควรนำมาล้างให้สะอาดแล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำเจือน้ำสุกเท่าตัวนำมากินครั้งละประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง หรือเติมเกลือเล็กน้อยให้กินง่ายขึ้น ใช้รักษาอาการท้องร่วง บิด ผงขมิ้น ให้ใช้ผงขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันหมู 2-3 ช้อนโต๊ะ เอามาเคี่ยวด้วยไฟอ่อนแล้วคนให้ทั่วจนเป้นสีเหลือง แล้วใช้น้ำมันที่ได้ใส่แผลหรือจะใช้ฟอกตามบริเวรที่เป็นแผลและยังใช้รักษาอาการเคล็ด หัวขมิ้น ให้นำหัวขมิ้นมาขูดเอาหนื้อขมิ้นทาบริเวณที่ยุงกัดจะทำให้หายคันและตุ่มจะยุบหายไป

การใช้ประโยชน์จากขมิ้น :
- ตัดแง่งขมิ้นมาพอสมควร นำมาล้างให้สะอาด (ควรทำขั้นตอนนี้ทุกครั้งของการใช้สมุนไพร) แล้วตำให้ละเอียด           คั้นเอาแต่น้ำเจือน้ำสุกเท่าตัวนำมาดื่มครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 - 4 ครั้ง หรือเติมเกลือเล็กน้อย เพื่อใช้รักษาอาการท้องร่วง บิด
- ใช้ผงขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะ นำมันผสมกับน้ำมันมะพร้าว 2 - 3 ช้อนโต๊ะ เอามาเคี่ยวด้วยไฟอ่อน จนได้น้ำมันสีเหลือง แล้วนำมาใช้ใส่แผล หรือนำมาพอกบริเวณ ที่ปวดเมื่อย หรือเคล็ดได้
- นำผงขมิ้นมาผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม ปั้นเป็นลูกกลอน ขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทาน 2 - 3 เม็ด หลังอาหาร และก่อนนอน เพื่อรักษา อาการโรคกระเพาะ ท้องขึ้น
- นำขมิ้นแห้ง 25 กรัม + ว่านนางคำ 200 กรัม + ไพล 50 กรัม + ดินสอพอง 1000 กรัม นำมาบดผสมกัน ใช้พอกหน้า และตัวเพื่อบำรุงผิวได้ (ถ้าผิวมันใช้ผสมกับน้ำมะกรูดเผาไฟ ถ้าผิวแห้ง ใช้ผสมกับน้ำผึ้ง หรือ นมสด) ควรพอกประมาณ 5 - 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ตามด้วยน้ำเย็น สลับกัน
- ใช้ผงขมิ้นละลายน้ำทาบ่อย ๆตรงบริเวณที่คัน หรือ คันจากยุงกัดมดกัด
- ทำครีมสมุนไพร เพื่อใช้แทนสบู่ และลดรอยเหี่ยวย่นและจุดด่างดำ เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหน้า โดยนำมะขามเปียก 300 กรัมมาแช่น้ำและบีบน้ำแล้วนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วเอาตั้งใส่หม้อเคลือบตั้งไฟอ่อน ๆ เคี่ยวให้แห้งจากนั้น เติมนมสด 200 กรัม + น้ำผึ้ง 50 กรัม + ขมิ้นผง 1/2 ช้อนชา + ว่านนางคำผง 1/2 ช้อนชา คนให้แห้ง ยกลง ก็โดยชะโลมน้ำที่หน้าพอเปียก ป้ายครีมเล็กน้อย ลูบไล้จนทั่วหน้า ทิ้งไว้สักครู่ แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

- วิธีทำยาทาผิว ใช้เหง้าขมิ้นสดมาหั่นบาง ๆ แล้วตากแห้ง นำมาบดเป็นผงให้ละเอียด เวลาจะใช้ให้นำมาผสมกับน้ำคนให้เข้ากัน ทาตามเนื้อตัวหรือใบหน้า หรือผสมกับน้ำนมทาตัวเอาไว้ก่อนจะอาบน้ำทิ้งไว้ 10 - 20 นาที เป็นอย่างน้อย แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือตามด้วยการอาบน้ำชำระร่างกาย ผลที่ได้รับคือ ช่วยให้ผิวนุ่มนวลเนียน แก้โรคผดผื่นคัน หรือจุดด่างดำบนร่างกายให้หายไป

- วิธีทำครีมขัดและพอกหน้า นำขมิ้นผงผสมกับน้ำนม หรือน้ำผึ้ง จากนั้นล้างหน้า ให้สะอาดแล้วนำขมิ้นที่เตรียมไว้ขัดใบหน้าเบา ๆ จนทั่วพอกไว้อย่างนั้นประมาณ 5 นาที ล้างออกได้ด้วยน้ำอุ่น ๆ ผลที่ได้รับคือ ช่วยให้สิ้วเสี้ยนหลุดสมานผิวและรูขุมขน ช่วยรักษาแผลที่เกิดจากสิวอักเสบ ไม่ให้เกิดเป็นแผลเป็น ทำให้ผิวหน้า นุ่ม
และเนียน