วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

มะแว้ง










ชื่อวิทยาศาสตร์Solanum trilobatum  L.
วงศ์Solanaceae
ชื่ออื่นแขว้งเคีย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้เถาแกมไม้พุ่ม ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามโค้งแหลม ๆ ทั่วไป แต่ไม่มีขน ใบเป็นใบเดี่ยว ติดเรียงสลับหรือเยื้องกันเล็กน้อย และมักเป็นกระจุกตามปลาย ๆ กิ่ง ใบป้อมกว้าง 1.5-5 ซม. ยาว 1.5-6 ซม. โคนใบป้านกว้าง ปลายใบมน เนื้อใบบาง เกลี้ยง สีเขียวอ่อนท้องสองด้าน ขอบใบหยักเป็นคลื่นเว้าแหว่ง ก้านใบมีหนาม ดอกสีม่วง ออกรวมกันเป็นกระจุกเป็นพวงตามง่ามใบ หรือตรงข้ามกับใบ ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 3 ซม. ช่อเกลี้ยงไม่มีขน แต่มีหนาม กลีบรองกลีบดอกมี 5 แฉกแหลมๆ เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง กลีบดอกมี 5 แฉกเช่นกัน โคนกลีบติดกันเป็นพืดด้านนอกของกลีบมีขนประปราย ส่วนด้านในเกลี้ยงเกสรผู้จะเห็นแต่อับเรณูดูเป็นหลอด รวมกันเป็นกระจุกสีเหลืองอยู่ตรงกลาง หลอดท่อรังไข่เกลี้ยง ยาวยื่นเหนืออับเรณูมาเล็กน้อย ผลกลมเกลี้ยง อุ้มน้ำ โตวัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ผลสุกสีแดง และภายในมีเมล็ดมาก2

ประโยชน์ทางสมุนไพร ตำรายาไทยใช้ผลสดแก้ไอขับเสมหะ โดยใช้ขนาด 4-10 ผล โขลกพอแหลกคั้นเอาน้ำใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมเฝื่อน มะแว้งเครือเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้งเช่นกัน นอกจากนี้ใช้ขับปัสสาวะแก้ไข้และเป็นยาขมเจริญอาหารด้วย
แก้ไอและขับเสมหะ- 1. เอาผลมะแว้งเครือสด ๆ 5-6 ผล นำมาเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมแล้วคายกากทิ้งเสีย บำบัดอาการไอได้ผลชะงัด- 2. ใช้ผลสด ๆ 5-10 ผล โขกพอแหลกคั้นเอาแต่น้ำ ใส่เกลือจิบบ่อยๆ หรือใช้ผลสดเคี้ยวแล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ2,3 ผลิตภัณฑ์
ยาอมมะแว้ง สรรพคุณ แก้ไอ ขับเสมหะ

สรรพคุณ
ราก -  แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา
ทั้งต้น - แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา
ใบ - บำรุงธาตุ แก้วัณโรค แก้ไอ
ผล - บำรุงน้ำดี รักษาโรคเบาหวาน แก้ไอ แก้เสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้คอแห้ง ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางไต และกระเพาะปัสสาวะ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา

วิธีและปริมาณที่ใช้
- ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ไอ และแก้โรคหอบหืด ใช้มะแว้งต้น ผลแก่ ในเด็ก ใช้ 2-3 ผล ใช้เป็นน้ำกระสายยา กวาดแก้ไอ ขับเสมหะ ผู้ใหญ่ ใช้ 10-20 ผล รับประทาน เคี้ยว แล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ รับประทานบ่อยๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น
- ใช้ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ใช้มะแว้งต้นโตเต็มที่ 10-20 ผล รับประทานเป็นอาหารกับน้ำพริก

สารเคมี
  สาร Solasodine จะพบได้ในส่วน ผล ใบ และต้น นอกจากนี้ในใบและผลยังพบ Solanine , Solanidine  Beta-sitosterol และ Diogenin

คุณค่าทางอาหาร
  ลูกมะแว้งต้น ใช้เป็นผักได้ แต่นิยมน้อยกว่ามะแว้งเครือ ลูกมะแว้งต้นมีวิตามินเอ ค่อนข้างสูง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น